รางเดินสายไฟ

การเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบ ไม่พันกันยุ่งเหยิง คือสิ่งที่เราควรคำนึงทำครั้งในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้าน หรือว่าในสถานที่ต่างๆ วิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการสายไฟก็คือ การใช้รางเดินสายไฟ ที่จะเพิ่มความสวยงามให้กับสถานที่ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการใช้ราง ก็ยังประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการใช้ท่อเดินสาย ยิ่งถ้าหากเป็นการเดินสายที่มีจำนวนสายมากๆ ค่าใช้จ่ายก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย

การใช้รางสำหรับเดินสายไฟ จึงเป็นทางเลือกของคนที่อยากจะประหยัดงบ แต่ยังคงไว้ในเรื่องของความปลอดภัยและความสวยงาม เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการใช้รางเดินสายให้ดียิ่งขึ้น และนำไปใช้อย่างถูกวิธี เราจะมารู้จักเกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆ ก่อน

รูปแบบของการผลิตรางเดินสายไฟ ที่ได้มาตรฐาน

ในการเลือกใช้รางสำหรับเดินสายไฟนั้น จะต้องเป็นรางที่มีการผลิตตามข้อกำหนดของ วสท. โดยการเลือกใช้วัสดุเหล่านี้เท่านั้น ได้แก่

1.แผนเหล็กที่ผ่านกรรมวิธีในการป้องกันสนิม และพ่นสีทับ

2.แผ่นเหล็กที่ผ่านการชุบสังกะสี ด้วยการบวนการทางไฟฟ้า

3.แผ่นเหล็กชุดสังกะสีด้วยกรรมวิธีจุ่มร้อน

4.แผ่นเหล็กที่ผ่านการชุบด้วยอะลูซิงค์ (Aruzinc)

เหตุผลที่ควรเลือกรางตามข้อกำหนด ก็เพื่อจะทำให้รางมีอายุการใช้งานที่เหมาะสม และไม่เสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายกับสายไฟ หรือเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

รางเดินสายไฟ

ข้อกำหนดในการใช้งานรางเดินสายไฟ

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน และไม่เสี่ยงทำให้เกิดอันตราย การติดตั้งราง จึงต้องติดตั้งตามข้อกำหนดของ วสท. เช่นกัน โดยสิ่งที่ควรรู้ก่อนติดตั้ง ได้แก่

1.ใช้รางเฉพาะในที่เปิดโล่งเท่านั้น หากเป็นพื้นที่ปิด ก็ควรเป็นพื้นที่ทำสามารถเข้าถึงได้ เพื่อสะดวกในการติดตั้งและการบำรุงรักษา

2.หากติดตั้งภายนอกอาคารที่ไม่มีที่กำบังฝน จะต้องต้องใช้ รางเดินสายไฟ ที่เป็นชนิดกันฝนเท่านั้น

3.ห้ามใช้งานในพื้นที่เสี่ยง หรือพ้นที่ที่อาจะเกิดความเสียหายทางกายภาภ เช่น พื้นที่ที่มีความร้อนสูง มีไอน้ำที่เสี่ยงทำให้รางผุกร่อน หรือที่อันตรายอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาด้วย

4.รางเดินสายต้องมีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อความปลอดภัยของสายไฟและตัวราง จะต้องมีการทำจุดยึดในทุกๆ 1.5 เมตร ตลอดของการเดินราง โดยอนุญาตให้ห่างได้มากสุดไม่เกิน 3 เมตร

5.ในส่วนปลายของรางจะต้องปิด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ทั้งจากคนและสิ่งแวดล้อม

6.หากเป็นการเดินสายในแนวดิ่ง จะต้องมีอุปกรณ์ยึดที่มั่นคงตลอดระยะห่างไม่เกิน 4.5 เมตร และไม่ควรมีจุดเชื่อมต่อของรางไม่เกิน 1 จุดในระยะจุดยึด

7.ถ้าในรางเดินสายจำเป็นต้องงยสาย หรือดัดให้เข้ากับพื้นที่ ในส่วนของรางเดินสาย จะต้องมีช่องว่างให้เพียงพอกับการงดสาย และไม่ควรจะมีส่วนที่แหลมคม ที่อาจทำให้เกิดสายไฟชำรุด

เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของเรา การเลือกใช้และติดตั้งรางเดินสายไฟจึงจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นความเสียหายก็เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และหลังจากการติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ก็ควรมีการตรวจสอบความปลอดภัยและซ่อมบำรุงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาข้อบกพร่องหรือจุดเสี่ยง จะได้หาทางแก้ไข้ได้ทันเวลา